วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2554

เรียนสบายๆ กับ Comparison หรือ การเปรียบเทียบ นั้นเองครับ.....

                         Comparison  การเปรียบเทียบ

     Comparison การเปรียบเทียบ เป็นการเปรียบเทียบคุณลักษณะของคำนาม (adjective) หรือเปรียบเทียบคุณลักษณะอาการ (adverb)
การเปรียบเทียบที่เท่าเทียมกัน
(Comparison of equality)
Nipon is as tall as Dang.
A pen is as good as a pencil.
She works as carefully as he.
 การเปรียบเทียบที่มากน้อยกว่ากัน(Comparison of inequality)
Nipon is taller than Ladda.
A pen is better than a pencil.
She works more carefully than he.
การเปรียบเทียบที่แสดงความเป็นที่สุด(Comparison of supremacy)
Nipon is the tallest of all.
The pen is the best of all (markers).
She works most carefully of all.


             ชนิดของการเปรียบเทียบมีดังนี้ นะครับ
  1) Comparison of Equality การเปรียบเทียบที่เท่าเทียมกัน
     ใช้ as ..............as / the same as
     as + adj/adv (ในขั้นธรรมดา) + as = เท่ากับ เหมือนกับ
    Nipon is as tall as Dang. นิพนธ์สูงเท่ากับแดง
    (= Nipon is as tall as Dang is tall.)                                                                                     She works as carefully as he. (= She works as carefully as he works carefully.)
   ในประโยคปฏิเสธ อาจใช้ so..............as แทน as .................as (แต่ใช้ as ............as ได้เสมอ) เช่น Nipon is not so tall as Dang. หรือ Nipon is not as tall as Dang.  the same + noun + as = เหมือนกันกับ เช่นเดียวกันกับ (หลัง the same เป็น noun)
   He has the same book as mine. (เขามีหนังสือเหมือนกับของผม)
  His car is the same color as yours. (รถของเขาสีเดียวกันกับรถของคุณ)
   Example: as......as เช่น  1) He is as tall as your brother.
  2) He drove his car as quickly as I did.
  3) Ladda is not as pretty as Anong.
  4) His uncle is as old as my uncle.
  5) This book is not as difficult as that one.
  Example: the same as
     1) His room is in the same building as mine.
     2) They live in the same house as I.
     3) His age is the same as mine.
     4) My house is the same size as yours.
     5) This building is the same height as that one.
    2) Comparison of Inequality การเปรียบเทียบที่มากน้อยกว่ากัน)
    เราอาจใช้คำ adjective ระดับกว่า ได้เช่นเดียวกันกับระดับธรรมดา คือ อาจใช้ประกอบหน้าคำนาม หรือใช้หลัง Verb to be ก็ได้ เช่น
  We need a better life. เราต้องการชีวิตที่ดีขึ้น (กว่าเดิม)
  It is better to live here. (เป็นการดียิ่งขึ้น(กว่าเดิม)ที่จะอยู่ที่นี่
  ประโยคทั้งสองข้างบนนี้ เป็นการใช้คำระดับกว่า โดยไม่มีการเปรียบเทียบให้ เห็นชัดเจน ถ้าต้องการให้เห็นชัดเจน เราเปรียบเทียบของสองสิ่ง โดยใช้ คำระดับกว่า + Than เช่น
  Nipon is taller than I. (นิพนธ์สูงกว่าฉัน)
  = Nipon is taller than I am tall. (นิพนธ์สูงกว่าที่ฉันสูง)
  Ladda works faster than we. (ลัดดาทำงานเร็วกว่าเรา)
  = Ladda works faster than we work. (ลัดดาทำงานเร็วกว่าที่เราทำ)
  แม้ว่าเราอาจใช้ประธานหลัง than ได้เพียงตัวเดียวลอยๆ อย่างในประโยคข้าง บน แต่บางครั้งก็อาจมีความกำกวมเกดิขึ้นได้ เช่น
   She loves Bill more than Tom. (หล่อนรักบิลมากกว่าทอม)
  คำกำกวม คือ She loves Bill more than she loves Tom. (หล่อนรักบิลมากกว่ารักทอม)
  หรือ She loves Bill more than Tom loves Bill. (หล่อนรักบิลมากกว่าที่ทอมรักบิล)
   ด้วยเหตุนี้ จึงนิยมถือหลักว่า
     - ถ้าคำหลัง than เป็นผู้กระทำอาการ นิยมใช้กริยาพิเศษ (anomalous verb) ต่อท้ายคำนั้น เช่น
   She loves Bill more than Tom does. = She loves Bill more than Tom loves Bill.)
   She loves Bill more than we do. = She loves Bill more than we love Bill.
     - ถ้าหลัง than เป็นผู้ถูกกระทำ ใช้คำนั้นลอยๆ คำเดียวได้ เช่น
  She loves Bill more than Tom. = She loves Bill more than she loves Tom.
 REGULAR COMPARISON
   โดยทั่วไป คำ adjective หรือ adverb มีรูปแสดงการเปรียบเทียบได้ 3 รูป หรือ 3 ระดับ ได้แก่
ระดับธรรมดา (ปกติ)
(Positive Degree)
ระดับกว่า
(Compaative Degree)
ระดับสูงสุด
(Superlative Degree)
small (เล็ก)
smaller(เล็กกว่า)
smallest (เล็กที่สุด)
large (กว้างใหญ่)
larger (กว้างใหญ่กว่า)
largest (กว้างที่สุด)
big (ใหญ่)
bigger (ใหญ่กว่า)
biggest (ใหญ่ที่สุด)
simple (ง่าย)
simpler (ง่ายกว่า)
simplest (ง่ายที่สุด)
beautiful (สวย)
more beautiful (สวยกว่า)
most beautiful (สวยที่สุด)
slowly (ช้า)
more slowly (ช้ากว่า)
most slowly (ช้าที่สุด)
silly (โง่า)
sillier (โง่กว่า)
silliest (โง่ที่สุด)
หลักของการเปลี่ยน คำ adjective หรือ adverb ให้เป็นขั้นกว่า หรือขั้นสูงสุดนั้น ยึดหลักดังนี้
            A) คำพยางค์เดียว (และสองพยางค์บางคำ)
            - คำพยางค์เดียวส่วนใหญ่เติม er , est ได้ทันที เช่น fast - faster - fastest (เร็ว) , cheap - cheaper - cheapest (ถูก ไม่แพง)
            - ถ้าลงท้ายด้วย e อยู่แล้ว เติมเพียง r หรือ st เช่น large - larger - largest (กว้างใหญ่) , simple - simpler-simplest (ง่าย ธรรมดา)
            - ถ้ามีสระตัวเดียว ตัวสะกดตัวเดียว เพิ่มตัวสะกดอีกหนึ่งตัวก่อนเติม er หรือ est เช่น big - bigger - biggest (ใหญ่) , thin - thinner - thinnest (ผอม), fat - fatter - fattest (อ้วน)
            - ถ้าลงท้ายด้วย y เปลี่ยน y เป็น i แล้วเติม er , est (หน้า y ต้องไม่ใช่สระ) เช่น happy - happier - happiest (มีความสุข), silly - sillier - silliest (โง่) ยกเว้นถ้าเป็นคำ adverb ที่เกิดจากการเติม ly เข้าที่คำ adjective เติมคำ more, most เข้าข้างหน้า เช่น quickly - more quickly - most quickly (อย่างรวดเร็ว)
           B) คำสองพยางค์
        - ถ้าเป็นคำสองพยางค์ที่ออกเสียงสั้น เติม er , est เช่น early - earlier - earliest (เแต่ช้า เนิ่น) , simple - simpler , simplest
       - คำสองพยางค์ที่มีเสียงยาว ใช้ more , most ข้างหน้า เช่น modern - more modern , most modern (ทันสมัย) , correct - more correct , most correct (ถูก) , famous - more famous - most famous (มีชื่อเสียง)
  (คำบางคำก็ใช้ได้ทั้งสองแบบ เช่น common - commoner - commonest หรือ common - more common - most common (ธรรมดา)
           C) คำสามพยางค์ขึ้นไป ใช้ more , most ข้างหน้า โดยไม่มีข้อยกเว้น เช่น expensive - more expensive , most expensive (แพง)
หมายเหตุ ใช้ more , most กับ adverb ที่เกิดจากการเติม ly และ adjective
     ที่เกิดจากการเติม - ful , - ing และ -ed เช่น carefully - more carefully
        - most carefully (อย่างระมัดระวัง), boring - more boring - most
          boring (น่าเบื่อ) , tired - more tired - most tired (เหนื่อย)

IRREGULAR COMPARISON
คำ adjective และ adverb ต่อไปนี้ มีรูปคำ ระดับกว่า และระดับสุด ผิดจากกฎเกณฑ์ที่กล่าวมา จะต้องจดจำเป็นพิเศษ ดังนี้
ระดับธรรมดา (ปกติ)
(Positive Degree)
ระดับกว่า
(Comparative Degree)
ระดับสูงสุด
(Superlative Degree)
good (ดี)
better (ดีกว่า)
best (ดีที่สุด)
well (ดี)
better (ดีกว่า)
best (ดีที่สุด)
many(มาก)ใช้กับนามนับได้
more (มากกว่า)
most (มากที่สุด)
much (มาก)ใช้กับนามนับไม่ได้
more (มากกว่า)
most (มากที่สุด)
little(น้อย) ใช้กับนามนับไม่ได้
less (น้อยกว่า)
least (น้อยที่สุด)
far (ไกล)
farther (ไกลกว่า)
farthest (ไกลที่สุด)
far (เหนือชั้น สูง)
further(เหนือชั้นกว่า)
furthest (เหนือชั้นที่สุด)

3) COMPARISON OF SUPREMACY การเปรียบเทียบแสดงความเป็นที่สุด
     การเปรียบเทียบแสดงความเป็นที่สุด มีการใช้ระดับคำสุด (Superlative) มีข้อสังเกตดังนี้
         - เมื่อประกอบหน้าคำนาม ใช้ the นำหน้า เช่น This is the shortest way to town.
         - ถ้าใช้หลังกิริยาไม่จำเป็นต้องมี the เช่น That way is shortest.                  That way is the shortest. (ถ้ามีคำแสดงความเป็นเจ้าของ ก็ไม่ต้องมี the)
         - การเปรียบเทียบระดับสุดจะต้องใช้กับสิ่งของตั้งแต่สามสิ่งขึ้นไป เช่น Of the three boys, Nipon is the tallest. (Of the two boys, Nipon is the taller.)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น