Adverb (คำกริยาวิเศษณ์)
Adverb คือ คำกริยาวิเศษณ์ ทำหน้าที่ขยายคำกริยา, คำคุณศัพท์, และคำกริยาวิเศษณ์ตัวอื่นๆ โดยมีลักษณะต่างๆดังนี้
ชนิดของ Adverb แบ่งตามความหมายได้ดังนี้
1. Adverb of manner (กริยาวิเศษณ์บอกกริยาอาการ) adverb ที่บอกว่าการกระทำนั้นได้กระทำในลักษณะอาการอย่างไร (How) ส่วนมากจะเป็น adverb ที่ลงท้ายคำด้วย -ly ของคำคุณศัพท์ เช่น quickly, happily, bravely, hard, fast, well
3. Adverb of time (กริยาวิเศษณ์บอกเวลา) adverb ที่ บอกว่าการกระทำนั้นเกิดเมื่อใด ( when ) เป็นเวลานานแค่ไหน ( for how long ) และบ่อยแค่ไหน ( how often ) เช่น When = today, yesterday, later, now, last year, after, soon, before, sometime, For how long = all day, not long, for a while, since last year, temporarily, briefly, from……to, till, until ( บางตำราแยกเป็น Adverbs of Duration กริยาวิเศษณ์บอกระยะที่ดำเนินการมา ) How often = sometimes , frequently, never, often, always, monthly( บางตำราแยกหัวข้อนี้ออกเป็น Adverbs of Frequency กริยาวิเศษณ์บอกความสม่ำเสมอ)
4. Adverb of degree เป็นกริยาวิเศษณ์ที่ส่วนใหญ่ไปขยาย adjective หรือ adverb ด้วยกันเอง เพื่อบอกระดับหรือปริมาณความมากน้อย คำที่พบบ่อยๆ (How much)(บางตำราแยกหัวข้อนี้ออกเป็น Adverbs of quantity กริยาวิเศษณ์บอกปริมาณมากหรือน้อย)ได้แก่ เช่น very, fairly, rather, quite, too, hardly
5. Adverb of Affirmation or Negation คือ กริยาวิเศษณ์บอกการรับหรือปฏิเสธ เช่น yes, no, not, not at all, of course, actually
* 6. Conjunctive Adverbs เป็นกริยาวิเศษณ์ที่ทำหน้าที่เป็นคำเชื่อมอนุประโยค (independent clause) ในประโยค โดยมีข้อความของอนุประโยคหน้าและอนุประโยคหลังเชื่อมโยงกัน เช่นคำต่อไปนี้ เช่น next, finally, also, anyway, besides, still
* 7. Interrogative Adverbs (บางตำราก็เขียนไว้ว่า Adverb of Interrogative) กริยาวิเศษณ์นำในประโยคคำถาม ได้แก่คำดังต่อไปนี้ เช่น why, where, how, when, which, who
* 8. Relative Adverbs เป็นคำกริยาวิเศษณ์นำหน้า relative clause ได้แก่คำ when, where, why แทนคำ preposition + which
* หมายเหตุ บางตำราอาจจะไม่มี หรือรวมไว้ในหมวดเดียวกัน
หลักการสร้าง Adverb / แหล่งกำเนิด Adverb (หลักการเปลี่ยน adjective -> adverb)
1. Adverb ส่วนมากเกิดจากคำการเติม –ly ท้าย adjective
careful -> carefully quick -> quickly
โดยหลักการเติม –ly มีดังนี้
a) คำที่ลงท้ายด้วย –e ให้เติม –ly ได้เลย เช่น extreme -> extremely
ยกเว้น คำเหล่านี้ที่เปลี่ยนทั้งรูปได้แก่ true -> truly, due -> duly, whole -> wholly
b) คำที่ลงท้ายด้วย –le (-able, -ible) ให้เติม –ly เช่น comfortable -> comfortably
c) คำที่ลงท้ายด้วย –y เปลี่ยน –y เป็น –i และเติม –ly เช่น happy -> happily
d) คำที่ลงท้ายด้วย (สระ+l) ให้เติม –ly เช่น beautiful -> beautifully
e) นอกจากกฎเกณฑ์ที่ลงท้ายตามข้อ 1-2 แล้ว เมื่อต้องการให้เป็นกริยาวิเศษณ์ (Adverb) ให้เติม ly ปัจจัยได้เลย ไม่ต้องลังเลใจให้เสียเวลา
2. Adverb บางคำขึ้นต้นด้วย a-
เช่น a+go = ago, a+broad = abroad, a+new = anew, a+part = apart, a+side = aside
3. Adverb บางชนิดเติม –wise หรือ –ward เช่น forwards, backwards
4. มีรูปของตนเองมาโดยกำเนิด จะต่อเติมหรือตัดออกแม้เพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง ไม่ได้ ได้แก่คำว่า here, there, hard, always, well, often, too, very, early, seldom, etc.
*** 5.Adverb บางคำเป็นรูปเดียวกับ Adjective มี Adverb อยู่บางตัวซึ่งมีรูปเช่นเดียวกันกับ Adjective คำต่อไปนี้เป็นได้ทั้ง Adjective และ Adverb สุดท้ายแต่วิธีใช้ หรือตำแหน่งวางไว้ในประโยคของมันได้แก่ table update coming soon…
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น